ไทยไม่มีโทษประหารชีวิตมา 8 ปีแล้ว… นักโทษที่ถูกประหาร 2 คนสุดท้ายคือใคร???

โพสโดย : admin | วันที่ : 21 June 2017
หมวดหมู่ : สร้างแรงบันดาลใจ, เรื่องน่าอ่าน

ไทยไม่มีโทษประหารชีวิตมา 8 ปีแล้ว… นักโทษที่ถูกประหาร 2 คนสุดท้ายคือใคร???

ประหาร

ย้อนไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2552 ณ เรือนจำบางขวาง นช.บัณฑิต เจริญวานิช อายุ 45 ปี และ นช.จิรวัฒน์ พุ่มพฤกษ์ อายุ 52 ปี พวกเขาคือ สองนักโทษคดียาเสพติด อีกทั้งยังเป็นสองนักโทษประหารคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิต

ช่วง 5 โมงเย็นวันนั้น นับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากประเทศไทยแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 มาตรา 19 เปลี่ยนการประหารชีวิตจากการยิงเป้ามาเป็นการฉีดยาพิษให้ตาย ขั้นตอนก่อนประหารชีวิต หลังฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษตกมายังกรมราชทัณฑ์ เรือนจำปกปิดเป็นความลับจนกว่าจะเก็บนักโทษทั้งหมดเข้าเรือนนอนในเวลา 15.30 น.

วิธีการประหารมีขั้นตอนดังนี้

1. เรือนจำจะเบิกนักโทษ ที่ต้องรับโทษประหารชีวิตออกมา และแจ้งให้ทราบผลฎีกา เพื่อให้เขียนพินัยกรรมสั่งเสีย หรือให้โทรศัพท์สั่งเสียกับญาติพี่น้องก่อนประหาร 1 ชั่วโมง

2. จากนั้นนักโทษจะได้กินอาหารมื้อสุดท้าย

3. ทางเรือนจำจะนิมนต์พระจากวัดบางแพรกใต้เข้ามาแสดงธรรม เมื่อถึงเวลาจะนำนักโทษเข้าสู่แดนประหาร

4. ก่อนจะเข้าแดนประหาร นักโทษเข้าสักการะเจ้าพ่อเจตคุปค์และกราบไหว้ต้นโพธิ์ 3 ต้น หน้าแดนประหาร

5. นักโทษเดินเข้าห้องฉีดสารพิษ และถูกปิดตาด้วยผ้าดำ ในมือถือดอกไม้ธูปเทียน และหันหน้าไปทางวัดบางแพรกใต้ที่อยู่ติดกับแดนประหาร

6. นักโทษจะถูกล่ามโซ่ตรวนไว้ แม้ขณะนอนอยู่บนเตียงประหาร ซึ่งมีผ้าขาวสำหรับห่อศพวางรองอยู่ด้วย

7. เจ้าหน้าที่จะขึงแขนนักโทษให้ติดกับเตียงทั้ง 2 ข้างในท่ากางแขน แล้วฉีดยาไปที่ข้อมือทั้ง 2 ข้าง รวมทั้งหมด 3 เข็ม คือ ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาหยุดเต้นของหัวใจ โดยใช้เวลาในการฉีดยาประหารชีวิตนี้นาน 25 นาที

8. จากนั้นแพทย์และคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนอัยการจังหวัด ผู้กำกับการสถานีตำรวจ ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้แทนกรมราชทัณฑ์ ร่วมกันตรวจสอบว่า นักโทษประหารเสียชีวิตตามคำพิพากษา ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบ จะนำศพนักโทษบรรจุในโลงเย็น อุณหภูมิติดลบ 18 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง ก่อนที่จะให้แพทย์ตรวจเป็นครั้งสุดท้าย รอให้ญาติรับไปบำเพ็ญกุศลในวันรุ่งขึ้น

จากสถิติพบว่า นับตั้งแต่ปี 2479 ถึง 2552 มีการประหารชีวิตผู้ต้องคำพิพากษา จำนวน 325 ราย เป็นชาย 322 ราย และหญิง 3 ราย ในคดีความผิดประทุษร้ายพระบรมราชตระกูล เป็นกบฎ จำนวน 24 ราย คดีความผิดต่อชีวิต 278 ราย คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จำนวน 23 ราย โดยการยิง 319 ราย (โดยมีการยิงประหารรายสุดท้าย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2545)

แต่อย่างไรก็ดี ทางสหภาพยุโรปกลับไม่เห็นด้วยกับวิธีประหารชีวิต และอยากให้ไทยยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพื่อรักษาเกียรติ และศักดิ์ศรีของมนุษย์

ขอขอบคุณข้อมูล และเครดิตภาพจาก ไทยรัฐออนไลน์

แสดงความคิดเห็น