รู้หรือไม่??? จนทุกวันนี้ “แพทย์” ก็ยังไม่รู้ว่า “สะอึกเกิดจากอะไร”???

โพสโดย : admin | วันที่ : 3 March 2017
หมวดหมู่ : สุขภาพดีป้องกันได้, เรื่องน่าอ่าน

รู้หรือไม่??? จนทุกวันนี้ “แพทย์” ก็ยังไม่รู้ว่า “สะอึกเกิดจากอะไร”???

สะอึก

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเราถึงสะอึกได้ล่ะ

คนที่มาบอกเรื่องนี้คือ เวที ‘Ted-ed’  หรือองค์กรสร้างความรู้เพื่อเด็กๆ ของโลกนี้ได้นำบทเรียนของ ‘จอห์น คาเมรอน’ (John Cameron)  ที่บอกเล่าเรื่องราวของการ “สะอึก”  ไว้อย่างน่าติดตาม ไปชมคลิปกันครับ

ขออธิบายคลิปนี้ว่าการสะอึกเริ่มมาจากการกระตุกเกร็งหรือการบีบตัวของ “กระบังลม”  เกิดการทำงานที่ไม่สอดประสานกันกับอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ เนื่องจากการปิดของเส้นเสียงในทันที และการเปิดระหว่างเส้นเสียง หรือที่เรียกว่ากล่องเสียง การเคลื่อนของกระบังลมทำให้เกิดการดึงอากาศเข้าไปทันที แต่การปิดของเส้นเสียงกลับหยุดอากาศไม่ให้เข้าไปในหลอดลมและไปถึงปอด จึงทำให้เกิดเสียงสะอึกที่เป็นลักษณะเฉพาะดัง “อึกๆ ๆ” นั่นเอง

โดยแพทย์คาดว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการสะอึก  ได้แก่
1. การกลืนอากาศลงไปอย่างรวดเร็ว
2. การดื่มน้ำเร็วเกินไป
3. การมีอารมณ์ที่รุนแรง
4. การหัวเราะ สะอื้น ประหม่า หรือตื่นเต้น

ในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งบอกว่า การสะอึกเริ่มขึ้นเมื่อหลายล้านปีก่อน โดยเปรียบการสะอึกกับ “กบ” ที่เปลี่ยนจากลูกอ๊อดที่มีเหงือกและอาศัยอยู่ในน้ำ มาเป็นกบตัวเต็มวัยที่มีปอดและเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจากน้ำสู่บก นั่นคือการหายใจเข้าที่อาจเคลื่อนน้ำให้ผ่านเหงือก ตามมาด้วยการปิดอย่างรวดเร็วของกล่องเสียง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในปอด

ส่วนนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มก็เชื่อว่า การสะอึกเกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น เราจะไม่พบการสะอึกในนก สัตว์เลื้อยคลาน เต่า หรือในสัตว์อื่นๆ ที่หายใจโดยใช้ปอด นอกจากนี้ ยังพบว่าการสะอึกเกิดขึ้นในเด็กทารกนานก่อนที่จะเกิด และพบว่าเมื่อทารกเกิดมาแล้วก็ยังสะอึกบ่อยกว่าผู้ใหญ่ด้วย เพราะการเลี้ยงดูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อช่วยกำจัดอากาศจากกระเพาะอาหาร เหมือนกับการเรอนั่นเอง โดยจะเกิดการขยายตัวในทันทีของกระบังลม ทำให้อากาศถูกดันตัวสูงขึ้นจากกระเพาะอาหาร ในขณะที่การปิดของกล่องเสียงจะป้องกันนมไม่ให้เข้าไปในปอด

เทคนิคการหยุดสะอึกของหลายๆ คน

1. ดื่มน้ำเย็นอย่างต่อเนื่อง
2. กลั้นหายใจไม่ให้สะอึกจนหน้าดำหน้าแดง
3. ทานน้ำผึ้ง หรือเนยถั่วคำโตๆ หรือปั้นข้าวเป็นก้อนกลมๆ แล้วกลืนลงไป
4. หายใจหรือสะอึกใส่ถุง
5. ทำให้ตกใจ
และก็ยังไม่มีวิธีแก้อาการสะอึกที่ชัดเจนก็เป็นเพราะยังไม่มีใครรู้วิธีแก้หรือมีวิธีการรักษาที่แน่ชัดนั่นเอง 
แต่หากใครรู้สึกว่าตัวเองสะอึกนานเกินไปแล้ว เช่น สะอึกทุกวัน หรือสะอึกนานเกิน 3 ชั่วโมง แนะนำว่าให้รีบไปพบแพทย์น่าจะดีกว่าครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก TED-Ed และ workpointtv

แสดงความคิดเห็น