ตำนาน “รับน้อง” เริ่มจากโรงเรียนแพทย์ศาสตร์ศิริราช…

โพสโดย : admin | วันที่ : 3 November 2015
หมวดหมู่ : สร้างแรงบันดาลใจ, เรื่องน่าอ่าน

ตำนาน “รับน้อง” เริ่มจากโรงเรียนแพทย์ศาสตร์ศิริราช…

1

เมื่อก้าวขึ้นท่า เจ้ากับข้าพี่น้องกัน”

งานรับน้องใหม่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ศิริราช เมื่อพ.ศ.2475 และนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีประเพณีนี้เกิดขึ้น หัวใจของงานรับน้องใหม่ คือ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้กับนักศึกษาแพทย์

โดย นักศึกษาแพทย์อวย เกตุสิงห์ เลขานุการสโมสรนักศึกษาแพทย์ในขณะนั้น เป็นผู้เสนอให้จัดงานขึ้นเพื่อต้อนรับนักเรียนแพทย์ที่สำเร็จเตรียมแพทย์ชั้นปีที่ 2 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะข้ามฟากมาเรียนแพทยศาสตร์ต่ออีก4 ปีที่ศิริราช ให้มาพร้อมกันที่ท่าพระจันทร์ รุ่นพี่จะแจวเรือจ้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปรับมาขึ้นที่ท่าหอชาย รุ่นพี่จะรอต้อนรับ จากนั้นพากันไปกราบพระพุทธรูปที่อยู่หน้าหอพัก รุ่นน้องแนะนำตัวกับรุ่นพี่ จากนั้นร่วมรับประทานอาหาร งานรับน้องใหม่สร้างความประทับใจให้แก่ทุกคน

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยังสืบต่อประเพณีรับน้องใหม่มาทุกปี และปัจจุบันเรียกติดปากกันว่า “งานรับน้องข้ามฟาก” นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 จะนั่งเรือข้ามฟากมายังท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช คณบดีและอาจารย์ผู้ใหญ่จะรับน้องขึ้นจากเรือด้วยการดึงมือพร้อมรอยยิ้มแห่งไมตรี น้องใหม่จะไปกราบพระพุทธรูป ลอดซุ้มรับขวัญจากรุ่นพี่ จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงพิธีที่สำคัญยิ่งคือ การกล่าวปฏิญาณตนต่อหน้าพระรูปสมเด็จพระบรมราชชนก

2

3 4

ข้าพเจ้า จักไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว มีความเอ็นดู เป็นเบื้องหน้า บำเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ซึ่งประสบทุกข์ ไม่สามารถนิ่งดูดายได้ เพราะกรุณา

ข้าพเจ้า จะละกรรมอันชั่วร้าย และจักตั้งอยู่ในธรรม ของสัปบุรุษทุกเมื่อ ไม่เป็นผู้เห็นแก่อามิสมุ่งแต่จะเกื้อกูล

ข้าพเจ้า จะศึกษาขนบธรรมเนียมและจรรยาแพทย์ และปฏิบัติตนตามแนวทางที่แพทย์จะต้องปฏิบัติ เพื่อจะได้เป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในอนาคต… (คัดบางส่วนจากคำปฏิญาณตนของนักศึกษาแพทย์)

5

จากนั้นจะเข้าสู่พิธีบายศรีสู่ขวัญและงานเลี้ยงรื่นเริงในช่วงค่ำ

ศ. นพ. อวย เกตุสิงห์ (ศิริราช รุ่น ๓๘) ได้กล่าวไว้ว่า “เรียนร่วมสำนัก รักเหมือนร่วมแม่” ความเป็นพี่น้องนั้นสำคัญ และยิ่งเป็นพี่น้องร่วมครรภ์มารดาเดียวกันด้วยแล้ว ความผูกพันก็ยิ่งแน่นแฟ้น

ความเป็น “รุ่นพี่” ของชาวศิริราชไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ แต่เกิดขึ้นด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และไมตรีจิตที่มีให้กับ “รุ่นน้อง” อย่างคนที่อยู่ร่วมในครอบครัวเดียวกัน และ “ความเคารพ” ของรุ่นน้องที่มีต่อรุ่นพี่ก็ไม่ได้เกิดจากความหวาดกลัว หากแต่เกิดจากความรู้สึกเคารพรักในใจอย่างแท้จริง “ซีเนียริตี้” ของศิริราช เป็นความผูกพันของรุ่นพี่ที่มีต่อรุ่นน้อง โดยที่รุ่นพี่ตระหนักรู้อยู่เสมอว่า เรามีรุ่นน้องให้คอยดูแลห่วงใย คอยประคับประคองให้น้องก้าวผ่านเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้อย่างราบรื่น ไม่อ้างว้างเดียวดายดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ศิริราช พี่จะคอยดึง เพื่อนจะประคอง น้องจะช่วยดัน” … นพ.อดิศร รัตนโยธา (ศิริราชรุ่น 115)

หวังว่า บรรดารุ่นพี่ และรุ่นน้องในปัจจุบัน คงจะไม่แปลความหมายของการรับน้องผิดเพี้ยนไปเยอะ จนเสื่อมเสียนะจ๊ะ

ขอขอบคุณข้อมูล และเครดิตภาพจาก หนังสือศิริราชต้อนรับน้องใหม่ ๒๕๐๔ ,  fb เกลียวสัมพันพี่น้องช่างกลปทุมวัน และ okayclick

แสดงความคิดเห็น