14 เรื่องไม่ลับของ ยาคูลท์ ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!!!

โพสโดย : admin | วันที่ : 20 April 2016
หมวดหมู่ : สร้างแรงบันดาลใจ, เรื่องน่าอ่าน

14 เรื่องไม่ลับของ ยาคูลท์ ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน!!!

ยาคูลท์

1.ยาคูลท์ เป็นยาหรือไม่ ทำไม่ต้องมีคำว่า ยา ด้วย ?
ยาคูลท์เป็นนมเปรี้ยวสัญชาติญี่ปุ่น แปลกตรงที่ชื่อไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นทั้งที่ประเทศนี้ชาตินิยมจัดมาก YAKULT เป็นภาษา Esperanto(ภาษาประดิษฐ์ของหมอรัสเซีย) มาจากคำว่า “Jahurto” มีความหมายเท่ากับ “yoghurt” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “อายุยืนยาว”

2. หลายคนบอกว่ายาคูลท์ ดีมีประโยชน์ ยาคูลท์ ทำมาจากอะไร
ยาคูลท์ เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์นับพันล้านตัว ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้มาจากการหมักนมกับน้ำตาลกลูโคส โดยใช้จุลินทรีย์ชิโรต้า ยาคูลท์ไม่ใช่เป็นเพียงนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต แต่เป็น “โพรไบโอติก (Probiotics)” หรืออาหารเสริมที่มีแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือแลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ได้ถูกคัดเลือกมาโดยเฉพาะ เพราะมีความสามารถทนต่อสภาวะความเป็นกรดที่รุนแรงในกระเพาะอาหารของคนเรา และทนต่อความเป็นด่างที่รุนแรงของน้ำดี สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในลำไส้ และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้

3.ส่วนประกอบสำคัญของยาคูลท์มีอะไร
นมคืนรูปขาดมันเนย 50%
น้ำตาล 18%
จุลินทรีย์กรดนม (แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า)
ในยาคูลท์ 1 ขวด (80 cc.) มีจุลินทรีย์ชิโรต้าที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 8 พันล้านตัว

4.ยาคูลท์มีน้ำตาลด้วย18% สูงอยู่นะ !!!
ยาคูลท์ จำเป้นต้องมีน้ำตาลเป้นองค์ประกอบ เพราะแบคทีเรียสามารถเจริญเติบดตได้ในน้ำตาล  อ้วนไหม ??? หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้อ้วนได้ เพราะยาคูลท์  ผลิตมาสำหรับ บริโภควันละ 1 ขวดเท่านั้น

5.ยาคูลล์เจือสีสังเคราะห์หรือไม่
สีของยาคูลท์ คือสีธรรมชาติที่ได้จากการสังเคราะ ปลอดสีเจอปน

6.กินยาคูลท์อ้วนด้วยหรือ
กินมากอ้วนได้  ยาคูลท์ 1 ขาด ให้พลังงาน 71 kcal เเละมีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 3.5 ช้อนชา

7.ทำไมไม่มีไซส์ใหญ่
ตามคำแนะนำควรดื่ม 1 ขวด  80 ซีซีจึงจะดีต่อสุขภาพ   เป็นเพราะยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ แลคโตบาซิลลัส ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobaciius Balgaricu ร่วมกับ Stroptcoccus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต

8.มีจุลินทรีย์แล้วอยู่นอกตู้เย็นได้ไหม 
ควรเก็บยาคูลท์ไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส เพื่อคงคุณภาพของยาคูลท์และถึงแม้จะนำยาคูลท์มาแช่แข็ง Lactobacillus Casei Shirota Strain จะยังมีชีวิตอยู่

9.เด็ก – สตรีมีครรภ์กินได้หรือไม่
เด็กอายุมากกว่า 1ปีสามารถดื่มได้ และไม่แนะนำเด้กที่มีประวัติแพ้นมวัว  / ยาคูลท์เหมาะกับผู้หญิงมีครรภ์ เนื่องจากในยาคูลท์มีจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อดื่มแล้วอาการท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อยในระหว่างตั้งครรภ์จะหายไป รวมไปถึงผู้รับประทานมังสวิรัติที่สามารถดื่มยาคูลท์ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการที่สมดุลต่อร่างกาย

10.ยาคูลท์มีสารกันบูดหรือไม่ 
ยาคูลท์ไม่มีการเติมสารกันบูด และสารกันการตกตะกอน (Stabilizer) เพราะกรดนมในยาคูลท์ที่เกิดจากจุลินทรีย์ชิโรต้า ถูกสร้างขึ้นในระหว่างกระบวนการหมักที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เน่าเสีย

11.ทำไมยาคูลท์ไม่มีแบบกล่อง
บริษัท ยาคูลท์ประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเมื่อก่อนใช้ขวดเเก้ว ปัจจุบันใช้พลาสติก Poly Styrene (PS)ในการผลิตขวดยาคูลท์ ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ บริษัท ยาคูลท์ประเทศไทย ยังรณรงค์ให้ผู้บริโภคดื่มยาคูลท์จากขวดยาคูลท์โดยตรง เพื่อลดปริมาณการใช้หลอดอีกด้วย

12.ผู้ป่วยเบาหวานดื่มยาคูลท์ ได้หรือไม่
โรคเบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ และวิธีการรักษาตัวของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นสำหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะเริ่มดื่มเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

13.ทำไม มีต้องซื้อกับสาวยาคูลท์เท่านั้น
เป็นนโยบายของบริษัทเกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อลูกค้าและเพื่อเป็นการสนองนโยบายของบริษัทในการเลี้ยงพนักงานไม่ต้องให้สาวยาคูลทืต้องตกงาน

14 ทำไมต้อง ถามสาวยาคูลท์…ดูสิคะ
เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อยาคูลท์ในอดีตเป็นแม่บ้านการมีคนส่งยาคูลท์เป็นผู้หญิงและแนะนำเรื่องสุขภาพให้ผู้หญิงด้วยกันฟัง จะทำให้รู้สึกสนิทใจกันมากกว่า ประหนึ่งรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงนั่งเม้าส์ม้อยกัน เพราะฉะนั้น “สาวยาคูลท์ “จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยเหตุนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1963

ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ทำให้ “ยาคูลท์” ยังอยู่ในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น